#saab #draken #flygvapnet #sweden

ในช่วงปลายยุค 1940 สวีเดนผู้เป็นหนึ่งในหน้าด่านของโลกเสรีได้ต้องการเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นสำหรับกองทัพอากาศของตนเอง โดยมันต้องบินได้เร็วถึง Mach 1.5 เพื่อรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินในย่านความเร็ว high subsonic ของโซเวียต โดยทั้งหมดนี้ SAAB ได้รับงานไปในปี 1949
การพัฒนา
โดยสเปคที่ทางกองทัพกำหนดเป็นดังนี้
ความเร็ว Mach 1.5
ต้องมีปืนใหญ่อากาศ, สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและจรวดไม่นำวิถีได้
สามารถใช้งานบนถนนสาธณะที่เสริงแรงยาว 3000 เมตร กว้าง 13 เมตร ได้
สามารถเติมเชื้อเพลิงและเติมอาวุธได้ ภายใน10นาที โดยไม่ต้องการการฝึกที่มากเกินไป
ต้องใช้คนให้น้อยที่สุดในการซ่อมและบำรุงรักษา
ต้องมีความคล่องตัวที่สูง และอัตราการไต่ที่ดีเยี่ยม
ต้องนำเครื่องขึ้นลงบนทางวิ่งที่ J29 ใช้ได้
ต้องรบทุกกาลอากาศได้
นอกจากนี้ มันยังต้องมีสมรรถนะเทียบเคียงกับ Lockheed F-104 Starfighter ของอเมริกา และต้องทดแทน SAAB J 29 Tunnan และ SAAB J 32B Lansen ที่ประจำการอยู่ได้อีกด้วย



โดยในช่วงเริ่มแรกนั้นSAABได้เริ่มจากการนำ SAAB J32 Lansen มาเพิ่มกำลังเครื่องยนต์และได้แบ่งแบบร่างไว้อย่างน้อย2แบบ
Project 1220 (1949)
เป็นแบบร่างที่เอา J32 มาดัดแปลงให้สามารถบินเหนือเสียงได้โดยมีความเร็วสูงสุด Mach 1.35 และไต่ความสูง15000เมตรภายใน4นาที10วินาที

Project 1250 (เมษายน1951)
เป็นแบบร่างที่ใช้แนวคิด double delta wing มาใช้

แต่ท้ายสุดแล้วทีมวิศวะกรของSAABที่นำโดย Erik Bratt ก็แก้ปัญหาโดยการนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่าง delta wing มาใช้ แต่ก็เจอปัญหาทางเทคนิคอยู่ดีเช่น center of gravity (CG)ได้เยื้องไปด้านหลังมากเกินไปแต่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลู่ปีกให้ต่างกันในแต่ละช่วงของปีกและแบ่งเป็น2ช่วง เรียกว่า double delta wing ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ปีกเบาและแข็งแรงกว่าปีกลู่หรือปีกตรงเลยทำให้เครื่องบิน บินได้ถึง Mach 2 หรือสูงกว่านั้นได้ และ ยังมีสมรรถนะรบพันตูได้อย่างดีเพราะเลี้ยวแบบฉับพลันได้ดีมากแต่ทำให้สูญเสียพลังงานเยอะและนอกจากนี้มันยังทำท่า Cobra ได้อีกด้วย


เนื่องจาก SAAB 35นั้นใช้ปีกแบบ double delta wing ซึ่งไม่มีเครื่องบินขับไล่ที่ไหนในยุคนั้นใช้ เพื่อพิสูจน์แนวคิด SAABจึงได้สร้างต้นแบบเพื่อทดสอบโดยมีขนาดย่อส่วนเหลือ70%จากขนาดจริงและมีความเร็วต่ำกว่าเสียงชื่อ SAAB 210 LillDraken โดยเป็นเครื่องบินที่มีปีกแบบ full-delta เพราะก่อนหน้านั้นได้ทดสอบในอุโมงค์ลมแล้วว่า ถ้ามีหางจะทำให้เครื่องบินไม่เสถียน และทั้งหมดนี้ ทำให้คนของกองทัพอากาศรู้สึกตกใจเป็นอย่างมากจนมีนายพลคนหนึ่งได้กล่าวว่า “ นี่มันอะไรกัน,เครื่องบินต้องมีหางสิ ให้ตายเถอะ ”
แต่เมื่อมันบินขึ้นครั้งแรกในวันที่ 21 มกราคม 1952โดยนักบินทดสอบ Bengt R. Olow หลังจากบินทดสอบไปประมาณ 1000 เที่ยวบินจนได้ได้ทดสอบจนเป็นผลที่น่าพอใจ


เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว รัฐบาลสวีเดนจึงได้สั่งสร้างต้นแบบขนาดเท่าจริง 3ลำ และเครื่องก่อนสายการผลิต 3ลำ โดยได้เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Avon 200 Turbojet แต่ผลิตภายใต้ลิขสิทธ์โดย Svenska Flygmotor

โดยต้นแบบลำแรกนั้นใช้เครื่องยนต์ Svenska Flygmotor RM5A (Rolls-Royce Avon Mk.21) ซึ่งไม่มีสันดาปท้ายและได้บินขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 1955 ต่อมาได้เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น Avon Mk.43 ที่มีกำลังมากขึ้น จึงทำให้บินทะลุกำแพงเสียงที่ระดับการบินในวันที่ 26 มกราคม 1956

ต้นแบบลำที่ 2 ได้บินขึ้นในเดือน มีนาคม 1956 โดย ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ Avon Mk.46 ที่มีสันดาปท้าย และ ต้นแบบลำที่3ได้บินในเดือน กันยายน 1956
ทั้ง3ลำถูกทดสอบอย่างเต็มที่ โดยจุดจบลำแรกคือเข้าพิพิธภัณฑ์ แต่น่าเสียดายที่ลำที่2ถูกทำลายจากไฟไหม้ในปี1965 และลำที่3ถูกส่งไปโรงเรียนเทคนิคเพื่อทดสอบความเครียดและความล้า

SAAB 35 ถูกส่งเข้าสายการผลิตอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 1956 โดยเป็นรุ่น J 35A ซึ่งเป็นรุ่นขับไล่ แต่ในปีนั้นเอง ความต้องการของกองทัพได้เพิ่มขึ้น โดยเครื่องบินต้องบินในคามเร็วไม่ต่ำกว่า Mach 1.8
ดังนั้นต้นแบบ J 35A 2ลำแรกได้บินขึ้นในปี 1958 และใช้ Avon Mk.48A ที่แรงขับมากขึ้น แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น RM6B ที่สวีเดนผลิตเอง ซึ่งจากต้นแบบทั้งหมด5ลำ ต้นแบบลำที่2และลำที่4 ได้เปลี่ยนไปใช้ RM6B เช่นกัน
จากความสำเร็จของต้นแบบ J 35Aจึงได้ผลิตเต็มรูปแบบและได้ส่งมอบลำแรกให้กองทัพอากาศสวีเดนในเดือน มีนาคม 1960


ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยและติชมได้ใน comment นะครับ
Source
1. http://www.globalaircraft.org/planes/saab_35_draken.pl
2. https://en.topwar.ru/157175-shvedskij-drakon-saab-35-draken.html
3. http://www.x-plane.org/home/urf/aviation/text/35draken.htm#prototypes
4. http://www.avrosys.nu/aircraft/Jakt/122j35/122J35.htm
5. https://www.secretprojects.co.uk/threads/saab-fighter-attack-projects.683/page-2
6. http://www.airvectors.net/avj35.html