ถึงเเม้ว่าโครงการ F-15 STOL/MTD ได้เสร็จสิ้นลงในปี 1991 เเต่ดูเหมือนว่าเจ้าอินทรี 3 สีลำนี้จะยังไม่อยากจะนอนตากเเดดเหมือนเพื่อนๆของมัน

ในปี 1993 องค์การบริหารการบินและอวกาศแหงชาติ(NASA)ได้รับมอบเครื่องบินลำนี้จากกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อนำไปใช้ในโครงการวิจัยที่มีชื่อว่า Advanced Control Technology for Integrated Vehicle หรือเรียกสั้นๆว่า ACTIVE ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยด้านการบินเพื่อที่จะเพิ่มสมรรถนะเเละความคล่องตัวของอากาศยานทั้งเชิงพาณิชย์เเละอากาศยานทางทหาร
โครงการ ACTIVE นั้นเป็นการร่วมมือจากหลายฝ่ายประกอบด้วยนาซ่า,ศูนวิจัยเเห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ, Pratt & Whitney เเละ Boeing Phantom Works โดยความพยายามครั้งนี้มจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะลดเวลาออกเเบบเครื่องบินยุคหน้าลงครึ่งหนึ่ง

หลังจากได้รับมอบเครื่องจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ F-15 STOL/MTD นั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น NF-15B หรืออีกชื่อนึงคือ F-15 ACTIVE เเละได้เปลี่ยนหมายเลขเครื่องเป็น 837
เพื่อการวิจัยในครั้งนี้เจ้าเครื่อง 3 สีลำนี้ได้มีการปรับปรุงหลายอย่างคือ
1.เครื่องยนต์ Pratt & Whitney F-100-PW-229 IPE รุ่นเดียวกับที่ติดตั้งบน F-15E เเต่มาพร้อมกับ Pitch/Yaw Balance Beam Nozzles (P/Y BBN) ที่มีความสามารถในการปรับทิศทางเเรงขับไปได้ถึง 3 มิติด้วยมุมสูงสุด 20 องศาจากเส้นศูนย์กลาง ทำให้มีความคล่องตัวเเละเเรงขับมากกว่า 2D Thrust-Vectoring ของ STOL/MTD ซึ่ง 3D Thrust-vectoring นั้นทำให้ F-15 ACTIVE มีความคล้ายคลึงกับ Su-37 Terminator อีกด้วย
2.Quad digital flight controller เป็นระบบที่ช่วยให้นักบินสามารถควบคุมสมรรถนะเครื่องได้ตามต้องการ
3.Dual-channel nozzle controllers เพื่อควบคุมระบบปรับทิศทางเเรงเเรงขับของเครื่องยนต์ตามระบบควบคุมการบินขณะที่จำกัดมุมของท่อท้ายเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
4.Electronic air inlet controllers ซึ่งจะปรับช่องรับอากาศให้เข้าที่ขณะทำการบินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องยนต์ 5.Tri-channel VMS Computer เพื่อห้ามการทำการบินมากเกินกว่าสมรรถนะที่กำหนดมาให้เเละเพิ่มความปลอดภัยของตัวเครื่องเเละนักบิน

ขณะอยู่กับนาซ่านั้น F-15 ACTIVE ได้ทำให้เกิดเหตุการณสำคัญในการวิจัยหลายๆอย่าง อาทิเช่น การหันเครื่องขณะบินเร็วเหนือเสียงครั้งเเรกในช่วงต้นปี 1996,การเเสดงศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินในการเพิ่มความเร็วจาก มัค 0.1 สู่ 1.3 โดยไม่ได้เพิ่มความเร็วเครื่องบนความสูง 30,000 ฟิตในปลายปีเดียวกัน เป็นต้น

นอกจากนี้อินทรี 3 สีลำนี้ก็ได้เป็นเครื่องที่ถูกนำมาทดสอบต่างๆของนาซ่า เช่นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการ Stall เเละการทดสอบลดเสียงเครื่องยนต์ในปี 1997
F-15 ACTIVE นั้นนับได้ว่าเป็นเครื่องบินลำเเรกๆที่มีการนำเอา Intelligent Flight Control System (IFCS) มาทดสอบ ซึ่งระบบนี้จะไปทำการปรับสมรรถนะของเครื่องบินเพื่อที่จะให้นักบินสามารถควบคุมเครื่องในช่วงที่เครื่องบินเกิดวิกฤตซึ่งปกติจะไม่สามารถควบคุมเครื่องได้
งานวิจัยสุดท้ายที่ใช้เครื่องลำนี้นั้นคือการทดสอบ LaNCETS(Lift and Nozzle Change Effects on Tail Shock) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ในเครื่องบินพาณิชย์ความเร็วเหนือเสียงเพื่อป้องกันมิให้เกิด Sonic Boom ที่ไม่ต้องการ

หลังจากที่ได้รับใช้ชาติมากว่า 20 ปีเเละกว่า 231 เที่ยวบิน F-15 ACTIVE หมายเลขเครื่อง 837 นั้นได้ปลดประจำการในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.2009 ซึ่งเป็นการปิดตำนานวิหค 3 สีลำนี้ในที่สุด ถึงเเม้ว่าจะไม่ได้ทำการยิงอาวุธใดๆเลยเเต่การทดสอบหลายๆอย่างบนเครื่องบินลำนี่นั้นมีส่วนช่วยในการวิจัยเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีลำอื่นๆอีกด้วย
ที่มา:https://www.nasa.gov/centers/armstrong/news/FactSheets/FS-048-DFRC.html
https://sofrep.com/fightersweep/what-exactly-was-the-f-15-active-aircraft/
https://www.nasa.gov/centers/dryden/history/pastprojects/Active/desc.html
https://hushkit.net/2019/03/20/rare-eagles-unusual-f-15s-variants/