ในทศวรรษที่ 1970 กองทัพอากาศเยอรมันตะวันตกเล็งเห็นว่าเครื่องบินขับไล่ในอนาคตนั้นจะต้องมีความเร็วสูงเเละสามารถทำการบินในมุมปะทะที่มากได้เเต่เครื่องบินที่มีความสามารถดังกล่าวนั้นจะมาพร้อมกับเสถียรภาพที่ต่ำ
ในปี 1974 เพื่อที่จะเเก้ปัญหาเรื่องเสถียรภาพของเตรื่องบินยุคใหม่ กระทรวงกลาโหมของเยอรมันตะวันตกได้ให้บริษัท Messerschmitt-Bölkow-Blohm (MBB) เริ่มโครงการที่มีชื่อว่า CCV หรือ Control Configured Vehicle ซึ่งจะเป็นตัวทดลองให้กับระบบ fly-by-wire ที่จะเปลี่ยนจากระบบควบคุมเเบบ Analogue เก่าๆเป็นระบบควบคุมเครื่องบินด้วยระบบ Digital เเทน
โครงการ Control Configured Vehicle นั้นเป็นโคงการที่จะนำเครื่องบินที่ถูกคัดเลือกมาปรับเเต่งให้ลดเสถียรภาพลง้เเละใช้ระบบ fly-by-wire ซึ่งเป็นระบบการควบคุมการบินเเบบใหม่ในสมัยนั้นมาทำให้เครื่องบินมีความเสถียรดังเดิม ซึ่งโครงการนี้นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินในอนาคตมีความก้าวหน้ามากขึ้น เครื่องบินที่ได้รับเลือกในโครงการนี้ก็เป็นลำไหนไปไม่ได้นอกจาก”โลงศพเหินฟ้า”หรือ F-104G เพราะมีขนาดที่เล็กกว่าผู้ท้าชิงอย่าง F-4F ที่หนักเเละหนาอย่างกับอิฐ(ถึงมันจะมีที่ว่างพอที่จะใส่อุปกรณ์ทดสอบมากกว่า F-104 ก็ตาม) เฟสเเรกของโครงการนั้นได้เริ่มต้นขึ้นในปลายปี 1976 ซึ่งเป็นการทดสอบพารามิเตอร์สำหรับการควบคุมของ CCV เเละเซนเซอร์ซึ่งเป็นไปด้วยดีเเละประสบความสำเร็จภายใน 13 เที่ยวบิน
สำหรับเฟสที่สองนั้นมีการเเยกเครื่องทดสอบออกเป็น 2 รุ่นคือรุ่น B(Basic) เเละรุ่น E(Ente แปลว่าเป็ด) ในปี 1979 นั้นนับเป็นครั้งเเรกที่โครงการนี้บรรลุเป้าหมายในการบินด้วยโหมด CCV ซึ่งเครื่องบินที่ทำการทดสอบนั้นคือรุ่น B

ในปี 1980 นักบินทดสอบ Nils Meister ได้นำ F-104G-CCV ขึ้นบินจาก Manching เพื่อทำการบินทดสอบระบบอีกครั้งเเต่ครั้งนี้เครื่องที่ทำการบินนั้นคือรุ่น E1
F-104G-CCV รุ่น E1 นั้นจะต่างจากรุ่น B ตรงที่มีคานาร์ดอยู่ที่ตัวถังข้างหลังห้องนักบิน เนื่องด้วยน้ำหนักของอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมาเเละคานาร์ดที่ทำให้อากาศพลศาตร์ต่างจาก F-104 รุ่นทั่วไป
F-104G-CCV รุ่น E1 นั้นจึงมีเสถียรภาพที่ต่ำเเต่ระบบควบคุมการบินเเบบ CCV นั้นสามารถคงเสถียรภาพของเครื่องไว้ได้ตลอดระยะเวลาการบินทั้งหมด 45 นาที

ดร.Gerhart Loebert อดีตผู้จัดการของโครงการได้อธิบายถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ใน MBB-aktuell(จดหมายข่าวของ MBB) ไว้ว่า ”เป้าหมายของการทดสอบครั้งนี้ไม่ใช่การทำให้เครื่องที่เสถียรภาพต่ำให้มีความเสถียรเเต่เป็นการเเสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ CCV ว่ามีมากเเค่ไหนซึ่งเเน่นอน เราทำสำเร็จ” ความไม่เสถียรของ E1 นี้ได้มีการพยายามเเก้ในรุ่น E2 ที่ทดสอบในปี 1981 โดยการเปลี่ยนตำเเหน่งจุดศูนย์ถ่วงของตัวเครื่องไปด้านหลังเเละสุดท้ายก็สามารถเเก้ได้ในรุ่น E3 ด้วยการเพิ่มบัลลาสก์ 200 กิโลกรัม ไปที่ส่วนหน้าของเครื่อง โครงการนี้สิ้นสุดลงในปี 1984 เเละมีเทียวบินทดสอบทั้งหมด 176 เที่ยวบินซึ่งโดยรวมเเล้วโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเเละข้อมูลที่ได้จาก F-104G-CCV นั้นได้นำมาใช้กับ British Aerospace EAP เเละได้พัฒนาขึ้นมาเป็น EF-2000 หรือ Eurofighter Typhoon ในเวลาต่อมา


ที่มา http://www.i-f-s.nl/f-104-types/ https://theaviationist.com/2014/03/07/f-104-cvv-typhoon/ http://www.916-starfighter.de/Historie_CCV-F-104G.pdf
#luftwaffe #westgermanairforce #f104 #f104g #aviation #starfighter #typhoon #eurofighter_typhoon #flybywire #MMB