An-70 เป็นเครื่องบินขนส่งทางยุทธวิธี ที่มีความสามารถในการใช้ระยะทางนำเครื่องขึ้นและร่อนลงสั้น ( short takeoff and landing /STOL ) โดยจะมาทดแทน An-12และช่วยเบางานIl-76 ที่ประจำการตั้งแต่ยุค 60-70 โดย An-70 จะเป็นเครื่องบินแบบใหม่ ที่ใช้เครื่องยนต์ Propfan มีขนาดกลาง แต่มีลำตัวที่กว้าง และต้องขึ้นลงได้ในระยะทางสั้น(STOL)

An-70นั้นสามารถบรรทุกของได้มากสุด 47ตันได้ไกลถึง 3,000 กิโลเมตร โดยสามารถบรรทุกของหนัก20ตันไปได้ไกลถึง 6,600 กิโลเมตร และบรรทุกของหนัก35ตันไปได้ไกลถึง 5,000 กิโลเมตร ที่ความเร็วเดินทาง 750 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บรรทุกทหารได้300คน นอกจากนี้ยังทิ้งคน, ยานพาหนะและสิ่งของระหว่างบินได้ และยังบินขึ้นลงในระยะสั้นจากพื้นผิวที่ไม่ได้ปรับปรุงได้ในระยะทางวิ่งเพียง700เมตร นอกจากนี้ยังประหยัดเชื้อเพลิงได้20-30%ในความเร็วเดินทางเมื่อเทียบกับเครื่องบินเจ็ท

ระบบควบคุมการบินของAn-70นั้นเป็น four-channel digital fly-by-wire systemโดยได้กำลังในการควบคุมพื้นผิวจากระบบ hydraulic และcockpit นั้นได้ใช้MFD (multifunction display ) 6จอ และยังมี HUD (head-up display) อีกด้วย นอกจากนี้เครื่องบินยังมี APU(Auxiliary Power Unit) ที่ช่วยให้เครื่องไม่จำเป็นต้องติดตลอดเวลาและพึ่งพาแบตเตอรี่
เพื่อใช้ระบบไฟฟ้าและระบบควบคุมต่างๆ
การโดนเทครั้งแรกของAn-70
ทั้งหมดนี้ทำให้เข้าตาพวกเยอรมันและฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก เพราะ ตรงกับแนวคิดของโครงการ Future Large Aircraft (FLA)ของยุโรปที่เกินขึ้นในยุค90
แม้มันจะไม่เป็นมาตรฐานตะวันตกก็ตามและทางเยอรมันต้องการพัฒนาความสำพันธ์ทางการเมืองกับพวกยุโรปตะวันออกโดยการช่วยเหลือทางด้านอุตสาหกรรม แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เลือกเพราะ A400M ที่สร้างโดยAirbusกลับชนะไป แม้An-70จะดีกว่าและถูกกว่าจากการประเมินของเยอรมัน
การโดนเทครั้งที่2ของAn-70
แม้ทางยุโรปจะเทไปแล้ว แต่ทางรัสเซียก็เข้ามาให้ความสนใจโดยในปี2003นั้น โครงการAn-70ต้องการเงิน 86ล้านดอลลาร์ โดยรัสเซียจะเป็นคนออกให้61ล้านและยูเครนจะออก25ล้าน แต่รัสเซียกลับออกเพียง38ล้านในปี2003ส่วนยูเครนออก20ล้านในปี2004และอีก5ล้านในปี2005 และต้องการเงินอีก138ล้านดอลในปี2011เพื่อบินทดสอบ โดยเมื่อAn-70เข้าสายการผลิตแล้ว สายการผลิตจะอยู่ที่Aviant plant ที่KievและAviastar-SPที่Ulyanovsk
ต่อมาในปี2012ทางรัสเซียได้ต้องการAn-70จำนวน60ลำภายในปี2020 แต่เนื่องจากยูเครนกับรัสเซียได้มีปัญหาวิกฤตไครเมียในปี2014 สุดท้ายแล้ว รัสเซียได้ยกเลิกให้ความร่วมมือในการสร้างAn-70ในปี2015
source:
1. https://www.airforce-technology.com/projects/fla/
2.https://www.globalsecurity.org/military/world/russia/an-70.htm
4.https://web.archive.org/web/20181116085123/https://www.highbeam.com/doc/1G1-20591133.html